ผลิตภัณฑ์ของเรา

  ราชสีห์แดง
ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ประเภทหนึ่ง (ORDINARY PORTLAND CEMENT TYPE I)
ที่ผลิตขึ้นให้มีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมไทย
มอก. 15 เล่ม 1-2547ประเภท 1ซึ่งสามารถเทียบเท่ากับมาตรฐาน ASTM C 150-04
TYPE I ของประเทศสหรัฐอเมริกา


รายละเอียดเพิ่มเติม
     
  ราชสีห์เขียว
ปูนซีเมนต์ผสม (MIXED CEMENT) ที่ผลิตขึ้นให้มีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนดมาตรฐาน
ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมไทย มอก. 80-2550


รายละเอียดเพิ่มเติม
  .............................................................................................................................................................................................
ขั้นตอนการผลิตปูนซีเมนต์


บริษัทฯผลิตปูนซีเมนต์โดยใช้กรรมวิธีในการผลิตแบบระบบเผาแห้ง ซึ่งเป็นกรรมวิธีการผลิตที่นิยมใช้ในปัจจุบัน
เนื่องจากไม่มีการใช้น้ำในกระบวนการผลิต และใช้เชื้อเพลิงต่อหน่วยผลิตน้อยกว่าวิธีอื่น ๆ สำหรับกรรมวิธีการ
ผลิตปูนซีเมนต์ คือ การนำส่วนผสมที่ประกอบด้วยหินปูน (แคลเซียมออกไซด์) ดิน (clay) ซึ่งอาจเป็นดินดำ
และดินแดงที่มีส่วนผสมของซิลิก้า อะลูมินาและออกไซด์ของเหล็กตามอัตราส่วนที่ต้องการ มาบดผสมให้เข้ากัน
ผ่านไปยังหอ อบความร้อนด้วยลม (Preheater Tower) ก่อนจะเข้าสู่เตาเผาแบบหมุน (Rotary klin) ซึ่งมี
เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4 เมตร ยาวประมาณ 60 เมตร ใช้ความร้อนประมาณ 1500 องศาเซลเซียส วัตถุดิบ
จะทำปฏิกิริยาเกิดเป็นสารประกอบทางเคมีเรียกว่าปูนเม็ด(Clinker) ต่อจากนั้นจะทำให้ปูนเม็ดเย็นตัวลง
อย่างรวดเร็ว และผ่านกระบวนการบดในหม้อบด (Cement Mill) โดยผสมยิปซั่มลงไปเพื่อทำให้ปูนแข็งตัว
ช้าลง จะได้ปูนซีเมนต์ที่ต้องการก่อนบรรจุถุง หรือเก็บไว้ในไซโลปูนผง รอการจำหน่าย

  .............................................................................................................................................................................................

การกองเก็บปูนซีเมนต์

ควรเก็บในโรงเก็บที่มิดชิดป้องกันการ
ถูกน้ำและความชื้น

1. ควรเก็บในโรงเก็บที่มิดชิด ป้องกัน
การถูกน้ำและความชื้น
ขยายภาพคลิกที่ภาพ    
2. ไม่ควรเก็บปูนไว้นานเกินกว่า 3 เดือน
3. ปูนที่ฉีกถุงแล้วควรใช้ให้หมดในทันทีหรือเก็บใน
ถุงพลาสติกให้มิดชิด
ข้อควรระวังและข้อปฏิบัติเพื่อความปลอดภัย

1. ไม่ควรสัมผัสกับปูนซีเมนต์โดยตรง
2. หลีกเลี่ยงการหายใจเอาผงปูนซีเมนต์เข้าไป
3. เก็บให้พ้นมือเด็ก
4. สวมหน้ากากกรองฝุ่น และถุงมือที่ได้มาตรฐานทุกครั้ง
ที่ทำงานเกี่ยวกับปูนซีเมนต์
5. หากปูนซีเมนต์เข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดหลายๆ
ครั้ง แล้วรีบพบแพทย์

6. หากมีอาการผิดปกติ เช่น การแพ้ระคายเคืองที่ผิวหนัง
ปวดแสบ ปวดร้อน บริเวณที่สัมผัสปูนซีเมนต์ ให้รีบพบแพทย์


                           สารระคายเคือง